RSS

กรณี ดช.หม่อง ไร้สัญชาติ แต่ไม่ไร้รัฐ

04 ก.ย.

หมายเหตุ : “มติ ชนออนไลน์”-รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นางสาวอัจฉรา สุทธิสุนทรินทร์ คณะทำงานโครงการบางกอกคลินิกฯเพื่อให้คำปรึกษากฎหมายโดยสถานะและสิทธิ บุคคล ได้ทำความเห็นทางกฎหมายกรณีในกรณีปัญหาสิทธิในการเดินทางไปต่างประเทศ ของเด็กชายหม่อง ทองดี ซึ่งเป็นคนไร้สัญชาติประเภทเด็กและบุคคลที่เรียนอยู่ในสถาบันศึกษาไทยถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และสำเนาถึงนายกรัฐมนตรี

 

————————————————

เนื่องจากจากดิฉันได้รัมอบหมายจากคุณศุภชัย ใจสมุทรให้ทำความเห็นทางกฎหมายในกรณีปัญหาสิทธิในการเดินทางไปต่างประเทศของ เด็กชายหม่อง ทองดี เพอื่ เสนอต่อท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และโดยขอ้ เท็จจริงตามบันทึกรายละเอียดการให้ความช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่เด็กชายหม่อง ทองดีลงวันท ี่ 1  กันยายน พ.ศ.2552 โดยนางสาวอัจฉรา สุทธิสุนทรินทร์ ทนายความวิชาชีพประจำโครงการบางกอกคลินิกเพื่อให้คำปรึกษากฎหมายด้านสถานะ และสิทธิบุคคล กองทุนศาสตราจารย์คนึง ฦๅไชย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดิฉันจึงขอ มีความเห็นทางกฎหมายดังต่อไปนี้
(1.) เด็กชายหม่องมีสิทธิเดินทางออกไปจากประเทศไทยเพอื่ ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยหรือไม่ ?

 

 

หากฟังว่า เด็กชายหม่อง ทองดีเป็ นคนสัญชาติไทย สิทธิในการเดินทางเข้าออกจากประเทศไทย ย่อมเป็ นไปตามมาตรา 34 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แต่หากฟังข้อเท็จจริงว่า เด็กชายหม่อง ทองดี ไม่มีสัญชาติไทย สิทธิในการเดินทางเข้าออกจากประเทศไทย ย่อมเป็ นไปตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ซึ่ง อาจจะเป็ น มาตรา 12  หรือ13  หรือ 15 หรือ 17  ทั้งนี้ ตามแต่สถานะบุคคลที่ด็กชายหม่องเป็นอยู่
ดังนั้น จึงต้องพิจารณาต่อไปว่า เด็กชายหม่องมีสถานะเป็นคนสัญชาติไทยหรือไม่ ? หากพบว่า เด็กชายหม่องเป็นคนต่างด้าวก็ต้องงพิจารณาต่อไปอีกว่า เด็กชายหม่องมีสถานะเป็ นคนต่างด้าวประเภทใด ?
(2.) สถานบุคคลตามกฎหมายไทยของเด็กชายหม่อง ทองดี
2.1. เด็กชายหม่องไม่มีสิทธิในสัญชาติในขณะที่กิด

 

เด็กชายหม่อง ทองดีไม่มีสัญชาติไทยโดยการเกิด เพราะเกิดทบ้านต้นโชค หมูที่  5  ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 2  พฤษภาคม 2540 จากบิดาและมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าว มีลักษณะการเข้าเมืองแบบไม่ถาวร (ปรากฏตามหนังสือรับรองสถานที่เกิด ลงวันที่ 15  ตุลาคม พ.ศ.2551  ออกโดยอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่) ทั้งนี้เป็นไปภายใต ้ มาตรา 7  ทวิ วรรค 1 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508  ซงึ่ ถูกแกไข้ ขและเพิ่ม เติม โดย พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่2 ) พ.ศ.2535
2.2 เด็กชายหม่องถูกถือเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายในตั้งแต่เกิดจนถึงวันที่ 27  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 
นอกจากนั้น เมื่อฟังว่า เด็กชายหม่องไม่มีสัญชาติไทย จึงถูกมาตรา7 ทวิ วรรค 3 ถือให้เป็น “ผู้ที่เข้ามาอยู่ใ นราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าคนเข้าเมือง เว้นแต่จะมีการสั่งเป็นอย่างอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น”
แต่สถานะคนต่างด้าวเข้า เมืองผิดกฎหมายของเด็กชายหม่องสิ้น สุดลงโดยผลของมาตรา 7  แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับท ี่ 4 ) พ.ศ.2551 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551
2.3  ฐานะการอยู่ของเด็กชายหม่องตั้งแต่เกิดจนถึงวันที่  28  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบันเป็นไปตามกฎกระทรวงตามมาตรา 7 ทวิ ววรค 3 ซึ่งยังร่างไม่เสร็จ
โดยหลักกฎหมายสัญชาติไทยปัจจุบัน กล่าวคือ มาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ.2552  บัญญัติให้นำมาตรา7  ทวิ วรรค 3  ใหม่ มาใช้บังคับแทน มาตรา 7 ทวิ วรรค 3เก่า4อันหมายความว่า เด็กชายหม่องไม่อาจถูกถือว่า เป็นคนผิดกฎหมายคนเข้าเมืองอีกต่อไป
“ฐานะการอยู่” ของเด็กชายหม่องซึ่ง เกิดในประเทศไทยย่อมจะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงซึ่งกำลังยกร่างในกระทรวง มหาดไทย แต่อย่างไรก็ตาม กฎกระทรวงนี้ไ ม่อาจบัญญัติกำหนดฐานะการอยุ่ข องเด็กชายหม่องให้ขัดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและสิทธิมนุษยชนประกอบกัน
จึงสรุปได้ว่า เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า เด็กชายหม่องเกิดในประเทศไทย จึงไม่อาจตกเป็นคนเข้า เมืองผิดกฎหมาย เพราะโดยหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชน บุคคลไม่อาจถูกลงโทษในความผิดกฎหมายอาญาในการกระทำที่บุคคลมิได้ ระทำ

 

2.4 เด็กชายหม่องมีสถานะเป็นคนไร้สัญชาติ (Nationality – less Person)
เมื่อไม่ปรากฏว่า นายยุ้น นางมอย และเด็กชายหม่อง ทองดี ได้รับการพิสูจน์สัญชาติพม่า แม้อำเภอสันทรายจะระบุใน ท.ร.38/1 ว่า บุคคลทั้งสามเป็ น “คนสัญชาติพม่า” ก็ไม่ทำให้บุคคล ทั้งสามมีสถานะเป็นคนสัญชาติพม่าและปรากฏข้อเท็จจริงว่า บุพการีของเด็กชายหม่อง ทองดี เป็นคนชาติพันธุ์ไทยใหญ่จากรัฐฉาน ความเป็นไปได้ในการพิสูจน์สัญชาติพม่าก็อาจเป็นปัญหาสำหรับคนชาติพันธุ์นี้ เนื่องจากเป็นชาติพันธุ์ทยังมีการสู้ รับกับกองทหารของรัฐบาลพม่า
จึงสรุปได้ว่า เด็กชายหม่อง ตลอดจนบุพการี ยังประสบความไร้สัญชาติ หรือความไร้รัฐ  เจ้าของสัญชาติ ไม่อาจกล่าวอ้างว่า เขาเป็นคนสัญชาติพม่า ตราบเท่าที่ยังไม่มีการพิสูจน์สัญชาติพม่า และไม่มีสัญชาติไทยของรัฐของดินแดนที่เกิดของเด็กชายหม่อง เขาจึงมีสถานะเป็นคนไร้สัญชาติ
2.5  เด็กชายหม่องไม่ประสบปัญหาคนไร้รัฐ (Stateless Person)

 

 แต่เด็กชายหม่องไม่ประสบปัญหาความไร้รัฐหรือความไร้รัฐเจ้า ของทะเบียนราษฎร ทั้งนี้ เพราะรัฐบาลไทยโดยสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ได้บันทึกชื่อ เด็กชายหม่องใน 2  ทะเบียนประวัติตามกฎหมายทะเบียนราษฎร กล่าวคือ
ทะเบียนประวัติแรก ก็คือ การที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ได้บันทึกชื่อเด็กชายหม่อง ในทะเบียนประวัติตามกฎหมายทะเบียนราษฎร ประเภทผู้ติดตามแรงงานต่างด้าว (ท.ร.38/1) ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2547 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งการกระทำนี้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีว่า
ด้วย แรงงานต่างด้าวตั้งแต่ พ.ศ.2547 เป็นต้นมา และทะเบียนประวัติที่สอง ก็คือ การที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้บันทึกชื่อเด็กชายหม่องในทะเบียนประวัติตามกฎหมายทะเบียนราษฎร ประเภทบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ราษฎร (ท.ร.38 ก) ในทะเบียนประวัติเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ.2548 จนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้ การกระทำนี้เป็นไปตามยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2548 อันที่จะมุ่งให้รัฐไทยปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ผูกพันประเทศไทย ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษรหลายฉบับในเรื่องการขจัด ปัญหาความไร้รัฐให้แก่เด็กในประเทศไทย โดยเฉพาะ (1) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุยชน ค.ศ.1948 (2) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.1989 และ (3) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและการเมือง ค.ศ.1966
2.6  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและอำนาจในการขจัดปัญหาความไร้สัญชาติให้แก่เด็กชายหม่อง ทองดี

 

ในส่วนประเด็นการขจัดปัญหาความไร้สัญชาติให้แก่เด็กชายหม่องโดยการให้ สัญชาติไทยนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอาจใช้อำนาจตาม มาตรา 7 ทวิ วรรค 2  ใหม่ เพื่ออนุญาตให้สัญชาติไทยแก่เด็กชายหม่อง ทั้งนี้ เพราะยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2548  กำหนดสำหรับ “กรณีบุคคลที่มีคุณประโยชน์แก่ประเทศ” ว่า รัฐบาลมีนโยบาย “ให้สัญชาติไทยแก่บุคคลที่มีชื่ออยู่ในระบบทะเบียนของทางราชการ และอาศัยอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป โดยมีความประพฤติดี และ/หรือประกอบอาชีพสุจริต รวมทั้งได้ศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาและมีผลงาน/ความรู้ ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ หรือเป็นบุคคลที่มีผลงาน/ความรู้ ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ”
จึงสรุปได้ต่อไปว่า หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยฟังข้อเท็จจริงว่า เด็กชายหม่องไร้สัญชาติ และเป็น “บุคคลที่มีคุณประโยชน์แก่ประเทศ” ตามยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2548 รัฐมนตรีก็มีอำนาจอนุญาตให้สัญชาติไทยแก่เด็กชายหม่อง

 

(3.) เหตุผลที่รัฐบาลไทยไม่ผลักดันบุพการีของเด็กชายหม่อง ทองดีออกจากประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2538
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นายยุ้นและนางมอย ทองดี ซึ่งเป็นบุพการีของเด็กชายหม่อง เป็นชาวไทยใหญ่ จากบ้านน้ำจ่าง รัฐฉาน ประเทศพม่า ได้หนีภัยความตายจากรัฐฉานซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการสู้รบระหว่างทหารของ รัฐบาลพม่าและชนกลุ่มน้อยในประเทศพม่า การผลักดันครอบครัวของเด็กชายหม่องออกไปจากประเทศไทยจะเป็นการเสี่ยงภัยความ ตาย และเป็นการขัดต่อหลักการเคารพสิทธิในชีวิตตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ ข้อ 3 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.๑๙๔๘ และข้อ ๖ แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและการเมืองค.ศ.1966 ซึ่งผูกพันประเทศไทยในสถานะกฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร ตลอดจนมาตรา 4 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งบัญญัติว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” ดังนั้น จึงไม่มีการผลักดันครอบครัวทองดีออกไปจากประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2538  จนถึงปัจจุบัน
ในช่วงแรกของการเข้ามาในประเทศไทย บุพการีของเด็กชายหม่องทำงานสวนในสวนลิ้นจี่ แถวบ้านเช่า หลังจากมารดาคลอดเด็กชายหม่องแล้ว จึงเห็นว่ารายได้ที่ได้รับไม่เพียงพอ จึงย้ายครอบครัวไปรับจ้างก่อสร้างแถวมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเช่า เลขที่ 36 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ส่วนเด็กชายหม่องก็ได้เข้าศึกษา ณ โรงเรียนบ้านห้วยทราย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และปัจจุบัน ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4การให้ครอบครัวของเด็กชายหม่อง ทองดีออกไปจากประเทศไทย ย่อมทำได้ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ก็ต่อเมื่อฟังข้อเท็จจริงได้ว่า ภัยต่อชีวิตนั้นไม่มีอยู่ในพื้นที่ที่ส่งออกไป
แต่อย่างไรก็ตาม ฟังได้ต่อไปว่า ครอบครัวของเด็กชายหม่อง ทองดีในปัจจุบันมีสิทธิอาศัยตามกฎหมายคนเข้าเมืองในประเทศไทยตามนโยบายต่อมา ของรัฐบาลไทย
(4.) สถานะความเป็นแรงงานต่างด้าวในทะเบียนราษฎรของรัฐไทยประเภท ท.ร.38/1 ของเด็กชายหม่อง ทองดี และครอบครัว
เนื่องจากรัฐบาลไทยใน พ.ศ.2537 ได้มีนโยบายผ่อนผันให้คนไร้รัฐจากประเทศพม่ามา แสดงตนเพื่อขึ้นทะเบียนแรงงานที่ชอบด้วยกฎหมาย นายุ้นและนางมอย ทองดี จึงมาแสดงตนเป็น “แรงงานสัญชาติพม่า” และต่ออายุใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวอย่างถูกต้อง ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน จึงทำให้บุคคลทั้งสองถูกบันทึกในทะเบียนประวัติตามกฎหมายทะเบียนราษฎรไทย ซึ่งเรียกทั่วไปว่า “ท.ร.38/1″ และถือบัตรประจำตัวบุคคลตามกฎหมายทะเบียนราษฎรไทย ซึ่งเรียกโดยทั่วไป “บัตรคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย” และมีเลขประจำตัว
ประชาชนตามกฎหมายทะเบียน ราษฎรไทยขึ้นต้นด้วยเลข 00 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522  และนโยบายของรัฐบาลไทยตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการจัดระบบแรงงานต่างด้าวจาก ประเทศพม่าลาวกัมพูชา
ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 จนถึง พ.ศ.2552 นายยุ้น นางมอย และเด็กชายหม่องจึงมีสิทธิอาศัยในประเทศไทยตามกฎหมายคนเข้าเมือง ซึ่งระยะเวลาการอาศัยอยู่ในประเทศไทยตามมติคณะรัฐมนตรีล่าสุดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2550 เรื่องการจัดระบบแรงงานต่างด้าวได้กำหนดให้แรงงานต่างด้าวจากพม่าลาวกัมพูชา มีสิทธิอาศัยในประเทศไทยได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553  และหากได้รับการพิสูจน์สัญชาติพม่าตาม MOU ระหว่างรัฐบาลพม่าและรัฐบาลไทย บุคคลทั้งสามจะมีสิทธิอาศัยในประเทศไทยได้อีก 4 ปี
จะเห็นว่า เมื่อยังมิได้พิสูจน์สัญชาติพม่า เด็กชายหม่องและครอบครัวจึงไม่อาจมี “สถานะคนสัญชาติพม่าตามกฎหมายพม่า” การระบุในทะเบียนราษฎรของรัฐไทย จึงเป็นการกระทำฝ่ายเดียวของรัฐบาลไทยโดยอำเภอสันทราย โดยหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล การกำหนดสิทธิในสัญชาติของรัฐใด ย่อมเป็นอำนาจอธิปไตยของรัฐนั้น ดังนั้น การกำหนดให้สัญชาติพม่าโดยอำเภอสันทรายจึงไม่อาจมีผลในทางกฎหมายระหว่าง ประเทศ และกฎหมายพม่า คนในครอบครัวทองดีจึงยังคงไร้รัฐเจ้าของสัญชาติอยู่ต่อไป
การกระทำของอำเภอสันทรายจึงมีผลให้คนในครอบครัวทองดีมีสถานะเป็น “คนในทะเบียนราษฎรของรัฐไทย” พวกเขาจึงไม่ไร้รัฐ และรัฐไทยก็ได้ทำหน้าที่ตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่จะขจัดปัญหาความไร้รัฐ ให้แก่มนุษย์ในประเทศไทย ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ 6 แห่ง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1948 และ ข้อ 16 แห่ง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและการเมือง ค.ศ.1966  ซึ่งผูกพันประเทศในสถานะของกฎหมายระหว่างประเทศลายลักษณ์อักษร  โดยผลของเรื่อง แม้จะยังกล่าวอ้างไม่ได้ว่า โดยกฎหมายระหว่างประเทศ เด็กชายหม่อง และครอบครัวเป็นคนสัญชาติพม่า เพราะยังไม่ผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติพม่าตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและ รัฐบาลพม่า แต่โดยกฎหมายระหว่างประเทศ ก็กล่าวอ้างได้ว่า รัฐไทยเป็นรัฐเจ้าของตัวบุคคล (Personal State) ของเด็กชายหม่องและครอบครัวทองดี เพราะรัฐไทยได้ยอมรับบันทึกรับรองสิทธิในความเป็นบุคคลตามกฎหมายของเด็กชาย หม่องและครอบครัวในทะเบียนราษฎรของตน
ดังนั้น การออกเอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคล (Identification Paper) ของเด็กชายหม่อง ทองดี จึงเป็นหน้าที่ของรัฐไทย ซึ่งอำเภอสันทรายก็ได้ออกเอกสารพิสูจน์ตนเบื้องตนให้แก่เด็กชายหม่อง กล่าวคือ แบบรับรองรายการทะเบียนประวัติของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราช อาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ท.ร.38/1 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2547 โดยมีเลขประจำตัวประชาชน 00 – 5080 – 100480 – 2  โดยอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับเด็กชายหม่อง ทองดี แต่มิได้ออกบัตรประจำตัวบุคคลให้
(5.) สถานะความเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร
ในทะเบียนราษฎรของรัฐไทยประเภท ท.ร.38 ก ของเด็กชายหม่อง ทองดี เนื่องจากรัฐบาลไทยตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2548 มีนโยบายให้บันทึกคนไร้สัญชาติประเภทเด็กและบุคคลที่เรียนอยู่ในสถาบันศึกษา ไทยของประเทศไทยในทะเบียนประวัติตามกฎหมายทะเบียนราษฎร ประเภท “บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร” ซึ่งมักเรียกโดยทั่วไปว่า “ท.ร.38 ก” ดังนั้น อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้บันทึกชื่อเด็กชายหม่องในทะเบียนประวัติตามกฎหมายทะเบียนราษฎร ประเภทบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน
ราษฎร (ท.ร.38 ก) ในทะเบียนประวัติเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2548
การกระทำ ดังกล่าวตามยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติคณะ รัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2548 มุ่งให้รัฐไทยปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ผูกพันประเทศไทยภายใต้ กฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษรหลายฉบับในเรื่องการขจัดปัญหาความ ไร้รัฐให้แก่เด็กในประเทศไทย โดยเฉพาะ (1) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนค.ศ.1948 (2) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.1989 และ (3) กติการะหว่าง

 

ประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและการเมือง ค.ศ.1966 เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคล (Identification Paper) ที่แสดงว่า เด็กชายหม่องเป็นบุคคลประเภทเด็กและบุคคลที่เรียนอยู่ในสถาบันศึกษาไทยของ ประเทศไทยภายใต้ยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติคณะ รัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2548 ก็คือ บัตรประจำ ตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน โดยกำ หนดให้เด็กชายหม่องมีเลขประจำ ตัวประชาชน 0-5001-89000-94-1 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ออกบัตรดังกล่าวให้แก่เด็กชายหม่องเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2550 และบัตรดังกล่าวจะหมดอายุในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2560
(6.) เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคล (Identification Paper) สำหรับเด็กชายหม่องเพื่อเข้าแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับ ชิงแชมป์ประเทศญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 ณ เมืองชิบะประเทศญี่ปุ่น
เมื่อเด็กชายหม่องมีสถานะเป็นคนต่างด้าวไร้สัญชาติ ซึ่งถูกบันทึกในทะเบียนประวัติตามกฎหมายทะเบียนราษฎรไทย ทั้งประเภท ท.ร.38/1 และ ท.ร.38 ก รัฐไทยจึงมีสถานะเป็นรัฐเจ้าของตัวบุคคลของเด็กชายหม่อง ทองดี อันทำให้มีอำนาจหน้าที่ออกเอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคล(Identification Paper) ให้แก่เด็กชายหม่อง ทั้งในขณะที่อาศัยในประเทศไทยหรือเดินทางออกไปในต่างประเทศการทำเอกสาร พิสูจน์ทราบตัวบุคคล (Identification Paper) สำหรับคนต่างด้าวในทะเบียน
ราษฎรของรัฐไทยเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเอกสารดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า “เอกสารเดินทางสำหรับคนต่างด้าว (Travel Document for Aliens)” วิธีปฏิบัติการเพื่อทำเอกสารเดินทางสำหรับคนต่างด้าวไร้สัญชาติ ก็คือ (1) คนต่างด้าวไร้ สัญชาติทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อขอความอนุเคราะห์ พิจารณาการอนุญาตเดินทางออกนอกประเทศและเดินทางกลับเข้าประเทศ (2) กระทรวงมหาดไทยทำหนังสือกระทรวงการต่างประเทศเพื่อขอทำเอกสารเดินทางสำหรับ คนต่างด้าวสำหรับคนต่างด้าวในทะเบียนราษฎรของรัฐไทย
โดยปกติประเพณีการประสานงานเพื่อทำเอกสารเดินทางสำหรับคนต่างด้าว หน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่ประสานงานกับคนต่างด้าวไร้สัญชาติผู้ร้องขอสิทธิ เดินทาง ก็คือ (1) ส่วนประสานราชการ สำนักงานกิจการความมั่นคงภายใน กรมการปกครอง (2) กองการต่างประเทศสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และ (3) กองตรวจลงตราและเอกสารเดินทางคนต่างด้าวกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
(7.) ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการอนุญาตให้สิทธิเดินทางออกนอกประเทศไทยแก่เด็กชายหม่อง
เมื่อฟังข้อเท็จจริงว่า เด็กชายหม่อง ทองดี ไม่มีสัญชาติไทย สิทธิในการเข้าเมืองและอาศัยอยู่ในประเทศไทย ย่อมเป็นไปตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522  และเมื่อฟังได้ว่า เด็กชายหม่อง ทองดี เป็นคนไร้สัญชาติในทะเบียนราษฎรไทยที่มีสิทธิอาศัยตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งรักษาการตามกฎหมายนี้ ย่อมมีอำนาจหน้าที่จะอนุญาตให้สิทธิเดินทางเข้าและออกประเทศไทยได้อย่างแน่นอน
(8.) สิทธิมนุษยชนของเด็กที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติในประเทศไทย
ดังที่มีข่าวว่า จะมีการปฏิเสธสิทธิเดินทางไปญี่ปุ่นแก่เด็กชายหม่อง ด้วยเหตุที่เป็นบุตรของแรงงานต่างด้าวนั้น ย่อมจะเป็นการเลือกปฏิบัติต่อเด็กด้วยเหตุที่ไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งขัดต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.1989  และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและการเมือง ค.ศ.1966 ตลอดจนมาตรา 4 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1251883090&grpid=no&catid=02

 
2 ความเห็น

Posted by บน กันยายน 4, 2009 นิ้ว บทความ, เรื่องควรรู้

 

ป้ายกำกับ: ,

2 responses to “กรณี ดช.หม่อง ไร้สัญชาติ แต่ไม่ไร้รัฐ

  1. คนเรา

    กันยายน 4, 2009 at 12:57 am

    น่าเห็นใจมาก เป็นคนเหมือนกัน แต่ไม่ได้รับความเสมอภาคเท่ากัน

    เด็กมีพรสวรรค์ เก่ง ดี แต่ถูกกีดกันทางสัญชาติ

    ประเทศไทยน่าจะมีกฎหมายปลดแอกสัญชาติ
    โดยพิจารณาบุคคลที่เห็นว่าทำประโยชน์กับประเทศ
    มากกว่า พวกซื้อสัญชาติ แล้วสร้างปัญหากับสังคม

    ปัญหานี้จะต้องมีอีกแน่ๆ ถ้าข้าราชการกับนักการเมืองหรือคนค้ามนุษย์ฯลฯ
    ยังใช้เงินจากคนซื่อสัญชาติ อย่างผิดกฎหมายเหล่านี้
    ไปจูนเจือ อำนาจ ของตนเอง จนชาติไทย วอดวายไป

    น่านำมาเป็นประเด็นงานวิจัย/วาระประชุม เรื่องคนไร้สัญชาติ ปัญหาที่ไม่รู้จักจบ

    ขอบคุณอาจารย์ที่เปิดประเด็นเรื่องนี้

     
  2. Jiraporn

    กันยายน 3, 2010 at 3:16 pm

    เด็กชายรัฐพล เป็นเด็กที่เกิดจากพ่อแม่คนไทยเพียงแต่แม่ไม่ได้แจ้งเกิดให้กับเด็ก อาศัยอยู่กับตา(ติดเหล้า)และยายที่กำลังไม่สบาย ถ้ายายเสียไม่รู้ว่าเด็กจะไปประกอบอาชีพอะไรเลี้ยงตัวเองพ่อแม่ก็ไม่เคยมาใส่ใจดูแลเลย เด็กมีความประพฤติดี เรียนดี จิตใจดีกว่าเด็กมีสัญชาติบางคนเสียอีก กรุณาหาทางช่วยเหลือเด็กด้วยคิดว่าทำบุญ และขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ ครูบ้านนอก

     

ใส่ความเห็น