RSS

Tag Archives: โลกร้อน

ธ.โลกเตือนชาติยากจนอ่วมสุดเพราะโลกร้อน

เอกสารเล่มล่าสุด เรื่องผลกระทบจากโลกร้อนของธนาคารโลก ออกมาแล้วนะครับ และยังคงเรียกร้องให้นานาประเทศ เอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหา การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศให้มากขึ้น โดยระบุ ขณะนี้กว่า 97 %ของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เห็นพ้องกันว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริง และมีผลกระทบเป็นวงกว้าง ทั้งในประเทศร่ำรวยที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศยากจน

รูปภาพ

Dowanload ได้เลยครับ (ขนาด 7.0 M)

Click to access Turn_Down_the_heat_Why_a_4_degree_centrigrade_warmer_world_must_be_avoided.pdf

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน พฤศจิกายน 20, 2012 นิ้ว หนังสือ, เรื่องควรรู้

 

ป้ายกำกับ: , ,

การใช้พลังงานของ google ในการค้นหาคำ และ Facebook

จะเท่ากับเปิดไฟ 100 Watt 1 ชั่วโมง

ข้อมูลจาก google บอกว่า ในการค้นคำแต่ละครั้ง จะใช้ คอมพิวเตอร์ 1 ล้านตัวช่วยในการประมวผลซึ่งกินไฟ ประมาณ 1 ล้านหน่วย หรือ เท่ากับ บ้านที่ติดแอร์ 2 หลัง จำนวน 50000 หลัง

ซึ่งในแต่ละ 1 ชั่วโมง มีการค้นหาคำมากกว่า 10 ล้านครั้ง

นั่นหมายความว่า เราใช้พลังงานมหาศาลมากในการค้นหาข้อมูลในแต่ละวัน

อ่านแล้วกลุ้มเลยครับ

(ข้อมูลจาก ธีรเกียรติ เกิดเจริญ คณะวิทยา มหิดล อุณหพลศาสตร์ของ google)

และยังมีการ รณรงค์ให้ facebook  หันใช้พลังงานสะอาด เนื่องด้วย facebook มีแผนสร้างศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อเชื่อมโยงคนกว่า 500 ล้านคน ซึ่งต้องใช้พลังงานมหาศาล

ติดตามได้จาก

http://www.facebook.com/unfriendcoal

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กรกฎาคม 18, 2011 นิ้ว เรื่องควรรู้

 

ป้ายกำกับ: ,

รบ.ญี่ปุ่นแนะใส่เสื้อเชิ้ตฮาวาย-รองเท้าแตะ ….คนไทยกล้าไหม

รัฐบาลญี่ปุ่นออกมาตรการรณรงค์ให้มนุษย์เงินเดือนของญี่ปุ่นเลิกสวมสูทและผูกเน็คไท หันมาสวมเสื้อเชิ้ตและรองเท้าแตะแทน  

จุด ประสงค์หลักคือการช่วยลดการใช้พลังงานในช่วงฤดูร้อนที่กำลังมาถึง ซึ่งคาดว่าอาจมีความรุนแรงยิ่งกว่าปีใดๆ ด้วยการริเริ่มโครงการ “Super Cool Biz” หลังจากประเทศประสบปัญหาการขาดแคลนพลังงานอย่างหนักหลังวิกฤติโรงไฟฟ้าฟุกุ ชิมะ โดยรัฐบาลจัดให้มีการเดินแสดงแบบเสื้อผ้าที่เหมาะสมสำหรับการใส่ในฤดูร้อน แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งความเหมาะสมในการทำงานและติดต่อราชการ

 

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการเกิดกระแสไฟฟ้าตกไปทั่วกรุงโตเกียว รัฐบาลได้ร้องขอให้หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงบริษัทห้างร้านของภาคเอกชน ลดการใช้ไฟฟ้าลงร้อยละ 15  โดยจำกัดการเปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงฤดูร้อน และปรับอุณหภูมิให้อยู่ที่ 28 องศาเซลเซียส

 

 

โครงการดังกล่าวเคยมีการนำมาใช้แล้วในปี 2005 ที่ริเริ่มโดยนางยูริโกะ โคอิเกะ รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมในเวลานั้น เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน ขณะที่ในปีนี้ วิกฤติสึนามิและแผ่นดินไหวซึ่งส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ที่ผลิตไฟฟ้าจ่ายให้กับพื้นที่กรุงโตเกียวและปริมณฑล ทำให้ทางการญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะทำการรณรงค์ลดการใช้พลังงานอย่างจริงจัง ยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ชุดทำงานที่กระทรวงสิ่งแวดล้อมเห็นชอบและอนุญาตให้สามารถใส่ทำงานได้ อาทิ เสื้อโปโล เสื้อเชิ้ตแขนสั้น

รองเท้าผ้าใบ หรือแม้กระทั่งกางเกงยีนส์ รองเท้าแตะ ก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด

นอกจากนั้น รัฐบาลยังหวังว่าจะสามารถต่อยอดโครงการลดใช้พลังงานครั้งนี้ออกไปใช้นอกสถาน ที่ทำงาน รวมถึงกระตุ้นให้ประชาชนใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการลดการใช้พลังงานในรูปแบบ ต่างๆ อีกทั้งกระทรวงสิ่งแวดล้อมยังเสนอให้ใช้แผ่นลดความร้อน หรือบริโภคอาหารที่มีส่วนช่วยลดอุณหมิของร่างกาย

โดยชุดที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ เสื้อเชิ้ตแบบฮาวายที่ประชาชนในเขตหมู่เกาะโอกินาวานิยมสวมใส่ในฤดูร้อน หรือที่เรียกว่า “คาริยูชิ” และสามารถสวมใส่ได้ในการติดต่อราชการหรือการทำธุรกิจเช่นเดียวกับชุดสูท เสื้อ”คาริยูชิ”เริ่มได้รับความนิยม นับตั้งแต่ที่ผู้นำจากกลุ่มประเทศกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ซึ่งรวมถึงนายบิล คลินตัน สวมใส่เมื่อครั้งที่จังหวัดโอกินาวา เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดจี 8 เมื่อปี 2000

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1307183511&grpid=03&catid=&subcatid=

 

 

 
1 ความเห็น

Posted by บน มิถุนายน 4, 2011 นิ้ว บทความ, เรื่องควรรู้

 

ป้ายกำกับ: ,

การตรวจสอบ climategate ของ Penn State University……. หลุดครับ

ใครติดตามเรื่องโลกร้อน คงทราบเกี่ยวกับกรณีอื้อฉาวเรื่อง Climategate เป็นอย่างดี…ผลที่ตามมาคือ Penn State มหาวิทยาลัยที่ Mann ทำงานอยู่
สั่งสอบสวนทันที  4 เดือนผ่านไป เมื่อวารนี้มีการประกาศผลการสอบสวนออกมาแล้วครับ…..หลุดจากข้อกล่าวหาครับ …….โปรดติดตามกันต่อว่าจะเป็นอย่างไรนะครับ
Penn State’s Integrity Crisis
By Steve Milloy, The Daily Caller
July 14, 2010

Penn State University just exonerated Professor Michael Mann for wrongdoing related to Climategate. While that good news for Mann is no surprise, it came at a dear cost to Penn State – its integrity.

Soon after Climategate broke last November, Penn State convened an internal committee to investigate Mann, the primary author of the now-infamous and discredited “hockey stick” global warming graph.

Hopes for a bona fide investigation were dashed when the preliminary results were released in February. To the joy of climate alarmists, Penn State announced via press release that Mann was cleared of three of the four allegations against him (regarding falsification/suppression of data, deletion of e-mails/data and misuse of confidential information).  But if one looks past the release and reads the committee’s report, it becomes obvious the fix was in.

The preliminary review included the Climategate e-mails themselves, an interview with Mann, and documents submitted by Mann. While one committee member did informally endeavor to get external views on Mann, they only came from Texas A&M’s Gerald North and Stanford University’s Donald Kennedy.

North had earlier dismissed Climategate in a Washington Post interview only a few days after the scandal broke. He also assisted with a futile 2006 effort to rehabilitate Mann’s debunked hockey stick. As editor of Science magazine, Kennedy was an outspoken advocate of climate alarmism.

The committee went to great lengths to defuse the money line from the Climategate e-mails – i.e., “Mike’s Nature trick… to hide the decline.” While explaining how “trick” could merely refer to a “clever device,” the committee failed to even mention “hide the decline,” a phrase referring to Mann’s still-unexplained deletion of temperature data contradicting the climate alarmism hypothesis.

Based on Mann’s denial, the preliminary report concluded that there was no evidence to indicate that Mann intended to delete e-mails – even though that conclusion is contradicted by the plain language and circumstances of the relevant e-mail exchange. No inquiry beyond Mann’s denial was made.

Finally, the preliminary report dismissed the accusation that Mann conspired to silence skeptics by stating, “one finds enormous confusion has been caused by interpretations of the e-mails and their content” – but shouldn’t the committee have attempted to eliminate that confusion?

It’s unclear why the committee didn’t immediately exonerate Mann of the fourth allegation – seriously deviating from accepted practices within the academic community – except that by leaving it open, the committee apparently hoped to rebuild “public trust in science in general and climate science specifically.”

Four months later, the committee’s investigation charade has concluded. Most shocking, however, is that Penn State remains openly unabashed by the investigation’s shoddiness.

As before, a media release clearing Mann of “any wrongdoing” is making alarmists giddy. But once again, the investigation’s disturbing reality is revealed in the report.

The committee again excluded from consideration any document or point of view that might incriminate Mann’s conduct.

Other than the Climategate e-mails, the committee only examined:
(1) undescribed “documents collected by the [committee];” (2) “documents provided by Dr. Mann…”; (3) the committee’s preliminary report; (4) a May British House of Commons whitewash of Climategate; (5) a recent letter published in Science magazine deploring climate skepticism from 255 climate alarmists; (6) a document about the National Science Foundation peer review process; (7) the Department of Energy Guide to Financial Assistance; (8) information on the National Oceanic and Atmospheric Administration’s peer review process; (9) information regarding the percentage of NSF proposals funded; and (10) Mann’s curriculum vitae.

The committee apparently made no effort to obtain, much less consider, the volumes of available news reports, analyses (including from Congress) and commentary about Mann, the hockey stick and/or Climategate.

More than see no evil, the committee maintained its policy of hear no evil. Of the five additional interviews conducted, four were of Mann’s fellow alarmists. The lone climate skeptic interviewed was MIT professor Richard Lindzen. But the report makes clear that the committee conducted Lindzen’s interview in the finest traditions of a kangaroo court.

Here’s how the report describes the interview:

“… When told that the first three allegations against Dr. Mann were dismissed at the inquiry stage… Dr. Lindzen’s response was: ‘It’s thoroughly amazing. I mean these issues that he explicitly stated in the e-mails. I’m wondering what’s going on?’ The Investigatory Committee members did not respond to Dr. Lindzen’s statement. Instead, Dr. Lindzen’s attention was directed to the fourth allegation, and it was explained to him that this is the allegation which the Investigatory Committee is charged to address…”

Amazed that the committee would treat a member of the National Academy of Sciences, the Alfred P. Sloan Professor of Meteorology at MIT and an IPCC lead author with such disrespect and disregard, I contacted Dr. Lindzen. He told me, “They also basically ignored what I said.  I suppose they interviewed me in order to say that they had interviewed someone who was skeptical of warming alarm.”

The committee asked Mann about e-mails that mention Dr. Stephen McIntyre, one of the scientists credited with debunking Mann’s hockey stick. While Mann told the committee that there was “no merit whatsoever to Mr. [sic] McIntyre’s claims here…,” the committee didn’t interview McIntyre.

The committee also pointed to several awards given to Mann for his research including Scientific American’s naming Mann as one of the “50 leading visionaries in science and technology” and its selection of a web site co-founded by Mann as one of the top 25 “science and technology” web sites in 2005. The committee then wrote, “had Dr. Mann’s conduct of his research been outside the respected practices, it would have been impossible for him to receive so many awards and recognitions…”

The Committee also credited Mann with the 2007 Nobel Peace Prize that was awarded to the UN’s Intergovernmental Panel on Climate Change and Al Gore. “This would have been impossible had his activities in reporting his work been outside accepted practices in his field,” the committee observed. MIT’s Lindzen was also a co-Nobelist, but apparently the award didn’t help his credibility.

Global warming and Mann have been worth millions of grant dollars and lots of publicity for Penn State. But one would think the institution’s integrity is worth more.

Steve Milloy publishes JunkScience.com and is the author of “Green Hell: How Environmentalists Plan to Control Your Life and What You Can Do to Stop Them” (Regnery 2009).

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กรกฎาคม 15, 2010 นิ้ว Uncategorized

 

ป้ายกำกับ: , ,

ว่าด้วยเรื่องฉาว Climate Gate ต่อ

ณ ปัจจุบัน เรายังรอ รายงานสรุปผลการสอบสวนเรื่อง climategate ฉบับสมบูรณ์ของทางการสหรัฐ อยู่ แม้รายงานจะยังไม่ออกมา แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากรายงานฉบับย่อยๆ ก็ให้เชื่อแล้วว่า มีความไม่โปร่งใสในแวดวงนักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศ

ผมขอนำเสนอ บทความของ Lawrence Solomon ผู้เขียน The Deniers ซึ่งไปพูดไว้ที่สมาคมทำเหมืองแห่งโคโลราโด เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา

ประเด็นหลักของ climategate ที่ Lowrence สรุปไว้ มีดังนี้

1) The Climategate  emails  confirmed  much  of  what  the  sceptics  had  been saying  for  years.  

2) They  confirmed  that  the  peer  review  process  had  been  corrupted,  that scientists  were  arranging  friendly  reviews.  

3) They  confirmed  that  the  science  journals  had  been  corrupted.  That  journals  that  refused  to  play  ball  with  the  doomsayers  faced  boycotts and  their  editors  faced  firing.  

4) They  confirmed  that  sceptical  scientists  were  being  systematically excluded  from  the  top‐tier  journals.  

5) The  Climategate  emails  confirmed  that  journalists  were  likewise threatened  with  boycotts  if  they  didn’t  play  ball.  

6) The  Climategate  emails  confirmed  that  the  science  itself  was  suspect. That  the  doomsayers  themselves  couldn’t  make  the  data  work.  That they were  debating  among  themselves  some  of  the  same  points  that  the sceptics  raised,  and  were  privately  acknowledging  that  they  didn’t  have answers   to  the  issues  that  the  sceptics  raised.  

7) The  Climategate  emails  confirmed  that  the  doomsayers  were  so determined  to  hide  their  data from  inquiring  minds  that  they  were repared  to  break  the  law  to  hide  it  – and  did  break  the  law  –  by avoiding  Freedom  of  Information  requests.  

8) The  Climategate  emails  confirmed  that  raw  temperature  data collected from  countries  around  the  world  was  destroyed.  It  appears  the  UK  is missing  raw  temperature  data  going  back  to  1850 

สนใจอ่านฉบับเต็ม ก็ load เอาครับ (8 หน้า A4 ขนาด 108 KB)

lawrence-solomon-presentation-on-climategate

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน มีนาคม 31, 2010 นิ้ว บทความ

 

ป้ายกำกับ: , , ,

การตรวจสอบเรื่อง Climategate

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คณะกรรมการย่อยของ สว. สหรัฐฯ ได้เผยแพร่รายงานการตรวจสอบ
กรณี climategate ออกมาแล้ว 1 ฉบับนะครับ

ในบทสรุปผู้บริหารบอกว่า ทีมตรวจสอบขมวดปมไว้ว่า

นักวิทยาศาสตร์ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับ e-mail และเอกสารของ CRU ที่ตรวจสอบนั้น
แสดงให้เห็นว่า มีพฤติกรรมที่ผิดจริยธรรม และมีแนวโน้มที่จะกระทำผิดกฎหมาย
download รายงานการตรวจสอบที่นี่ (640KB)
รายงานตรวจสอบ climategate

หรือจาก web ของ สว.สหรัฐฯ
http://epw.senate.gov/public/index.cfm?FuseAction=Issues.View&Issue_id=0f038c02-802a-23ad-4fec-b8bc71f1a6f8

ส่วนการ กุข้อมูลเรื่องโลกร้อนนั้น……ยังต้องรอผลการตรวจสอบ คณะกรรมการอีกชุดหนึ่ง
ที่นำโดย Sir Muir Russell

โปรดติดตาม…….

 

ป้ายกำกับ: , , ,

คู่มือนักสงสัยเรื่องโลกร้อน ภาคภาษาไทย

และแล้วผมก็ทำจนเสร็จครับ…คู่มือนักสงสัยเรื่องโลกร้อน
สนใจ load กันไปดูครับ (อันนี้เป็น version 2 แล้วคร้าบ)
ขนาด file 1.5 MB
skeptic_THAI edit

 

ป้ายกำกับ: ,

จาก Climategate สู่ wikigate และ googlegate

จากกรณี climategate ที่มีการล้วงและลัก (hack) เอา e-mail และข้อมูลงานวิจัย จาก server ของศูนย์วิจัยสภาพภูมิอากาศของมหาวิทยาลัย East Anglia ซึ่งศูนย์วิจัยแห่งนี้เป็นดั่งศูนย์กลางงานวิจัยเรื่องโลกร้อนที่สำคัญของโลกเลยทีเดียว อีเมล์ที่ถูกลักออกมา ได้ถูกเปิดเผยออกสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะกระทบกับนักวิทยาศาสตร์แถวหน้าของฝ่ายที่เชื่อว่าโลกร้อนเกิดจากมนุษย์แล้ว ยังลุกลามไปสู่ความมั่นใจของสาธารณชนต่อขุมทรัพย์ข้อมูลบนโลก internet นั่นคือ wikipedia.com และ google.com ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมา ได้มีส่วนอย่างมากในการกระพือความเข้าใจและความเชื่อว่าโลกร้อนเกิดจากมนุษย์ ให้กระจายไปอย่างรวดเร็วและกลายเป็นความเชื่อหลักของคนบนโลกใบนี้

Wikipedia ตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าสมรู้ร่วมคิดกุให้โลกร้อนเกินปกติ เมื่อมีอีเมล์พาดพิงไปถึง William Connolley ซึ่งเป็นผู้ดูแลเนื้อหาด้านสภาพภูมิอากาศของ Wikipedia ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2546 Connolley นอกจากจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศ งานสำคัญของ Connolley นั้นเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบสภาพภูมิอากาศในช่วงทศวรรษ 1970 โดย Connolly เสนอค้านว่าเป็นทศวรรษที่โลกมีอุณหภูมิอุ่นขึ้น ซึ่งสวนทางกับข้อมูลวิชาการเดิมที่ชี้ว่าเป็นช่วงหนาวเย็น

ในปี พ.ศ. 2548 มีรายงานว่า Connolley ได้ถูกตรวจสอบกรณีการแก้ไขข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับโลกร้อน ซึ่งฝ่ายที่สงสัย ได้ส่งเรื่องให้อนุญาโตของ wikipedia ตรวจสอบ ในประเด็นที่ว่า Connolley ใช้อำนาจของผู้ดูแลเนื้อหาแก้ไข หรือลบทิ้งเนื้อหาที่มีข้อขัดแย้งกับมุมมองของเขา ผลคือ Connolley ถูกสั่งจำกัดการแก้ไขข้อมูลเป็นเวลา 6 เดือน แต่ต่อมาคำสั่งถูกยกเลิก และเขาก็กลับเข้ามาทำงานในตำแหน่งเดิมอีกครั้งเมื่อมกราคม 2549 และถูกยื่นให้ตรวจสอบพฤติกรรมแบบเดิมอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม 2552 จนกระทั่งอนุญาโตได้เพิกถอนสถานภาพการเป็นผู้ดูแลเนื้อหาตั้งแต่ 13 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา (แต่โดยข้อเท็จจริง Connelley ก็ยังวนเวียนเข้ามาแก้ไขข้อมูลใน wikipeadia อยู่จนถึง ณ ปัจจุบัน)

ชื่อของ Connolley กลับมาเป็นข่าวอีกครั้งเมื่อมีชื่ออยู่ใน e-mail ที่ถูกล้วงออกมาในฐานะ peer review ภายในของ Realclimate.org และเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่มีการกล่าวถึงการลบทิ้งข้อมูล Medieval Warm Period เพื่อทำให้เห็นว่าข้อมูลอุณหภูมิในปัจจุบันสูงกว่าในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับที่อนุญาโตของ wikipedia ตรวจสอบ สื่อมวลชนจึงได้สืบข้อมูลและพบว่า ในระหว่างที่ Connolley เป็นผู้ดูแลเนื้อหาด้านสภาพภูมิอากาศของ wikipedia นั้น เขาได้ใช้อำนาจของผู้ดูแลเนื้อหา ลบบทความใน wikipedia ที่เป็นของฝ่ายที่เชื่อว่าโลกร้อนเกิดขึ้นตามวงจรธรรมชาติมากกว่า 500 ครั้ง อย่างเช่น เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2546 เขาลบเนื้อหาเรื่อง Little Ice Age และ 11 ตุลาคม 2546 ลบเนื้อหาเรื่อง Medieval Warm Period เขายังทำการแก้ไขบทความของนักวิทยาศาสตร์ในฝ่านที่ไม่เห็นด้วย รวมกว่า 5,428 หัวข้อ และยังทำการปิดกั้นผู้ใช้งานที่ขัดแย้งกับเขามากกว่า 2,000 คน

Connolley เป็นหนึ่งในบุคคลที่สังคม wikipedia เรียกว่า Wiki Nazi และพฤติกรรมของ Connolley ข้างต้น ใช่หรือไม่ว่าได้ทำให้ wikipedia กลายเป็นแหล่งข้อมูล (ที่จงใจ) เผยแพร่ทฤษฎีโลกร้อนที่เกิดจากมนุษย์ และโดย (จงใจ) ปิดบังข้อมูลที่เห็นต่างออกไป

หันกลับมาดูค่าย google กันบ้างครับ ภายหลังมีข่าวเหตุการณ์ climategate ผู้คนจำนวนมากใช้ google ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และเมื่อมีการค้นคำว่า climategate เพิ่มมากขึ้น ระบบแนะนำอัตโนมัติซึ่งเป็นมาตรฐานของ google จะช่วยให้ผู้ค้นหาเข้าถึงคำที่ต้องการค้นได้เร็วขึ้น เพียงแค่พิมพ์ c-l-i ก็จะปรากฏคำว่า climategate ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งนั่นมีส่วนทำให้ภายในเวลา 10 วัน (28 พฤศจิกายน 2552) ได้ทำให้จำนวนหน้าของ link ที่ปรากฏคำว่า climategate ที่ google สามารถเข้าถึงได้ มีมากถึง 10,400,000 หน้า ซึ่งมากกว่าจำนวนหน้าของ link เมื่อค้นคำว่า global warming เสียด้วยซ้ำ

แต่แล้วหลังวันที่ 1 ธันวาคม 2552 ระบบแนะนำอัตโนมัติของ google สำหรับคำว่า climategate กลับไม่ทำงาน แม้ว่าจะพิมพ์ climategate เต็มๆ แล้วก็ตาม นั่นหมายถึง มีการดึงคำว่า climategate ออกจากระบบการค้นหาของ google ไปเรียบร้อยแล้ว

ปรากฏการณ์ดังกล่าวสร้างความสงสัยที่มากยิ่งขึ้นแก่ฝ่ายที่ไม่เชื่อว่าโลกร้อนเกิดจากมนุษย์ จนนำไปสู่การมีข้อสรุปที่ว่า google ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการสมรู้ร่วมคิดเรื่องโลกร้อน โดยพยายามกันไม่ให้สาธารณชนทั่วโลกเข้าถึงข้อมูลเรื่อง climategate ได้ง่าย มีรายงานปัญหาการสืบค้นในลักษณะข้างต้น ทั้งใน google.com / google.co.uk หรือ แม้แต่ google.co.th ก็ตาม

ทั้งนี้มีความพยายามที่จะขอคำอธิบายจาก Eric Schmidt ซึ่งเป็น CEO ของ google แต่ก็ไม่มีคำตอบใดๆ กลับมา งานนี้ว่ากันว่า Schmidt ในฐานะผู้สนับสนุนการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของ Al Gore และในฐานะองค์กรผู้สนับสนุนทุนลำดับ 3 ให้แก่ Obama คงเป็นคนจัดการเรื่องนี้เอง

ถึงตอนนี้หากจะค้นคำว่า climategate ก็มีคำแนะนำให้ค้นหาผ่าน yahoo.com หรือไม่ก็ bing.com แทนจะดีกว่า

ถึงที่สุด ผมไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้จะจบลงเมื่อไรและผลออกมาเป็นอย่างไร และผมก็ไม่รู้ว่าคุณจะยังเชื่ออย่างไม่ต้องสงสัยในข้อมูลที่ได้จาก wikipedia ต่อไปหรือไม่ และจะยังเชื่อผลการค้นหาที่ได้ google บอกได้อย่างวางใจหรือไม่  ผมรู้แต่เพียงว่าข้อเท็จจริงเหล่านี้ทำให้ผมในฐานะผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารตัวยง ต้องตระหนักในข้อมูลที่ไหลเวียนอยู่ในโลกดิจิตอลให้มากขึ้นครับ

บุญรักษาครับ

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน ธันวาคม 26, 2009 นิ้ว บทความ

 

ป้ายกำกับ: , ,

คู่มือสงสัยเรื่องโลกร้อน เล่ม 1-2 (skeptic’s handbook)

พอดีไปเจอมาครับ มีทั้งเล่ม 1 และ เล่ม 2 ลอง load ไปอ่านกันนะครับ (อยากแปลอยู่เหมือนกันครับ)…ผมแปลเล่ม 1 เสร็จแล้วครับ LOAD ได้เลย

the_skeptics_handbook เล่ม 1

the_skeptics_handbook เล่ม 2 (15 MB)

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน ธันวาคม 25, 2009 นิ้ว หนังสือ, Uncategorized

 

ป้ายกำกับ: ,

Climategate ลับ ลวง พรางเพื่อโลกร้อน

เนื้อหาที่ผมนำมาเล่าในที่นี่ ได้รับการเผยแพร่โดยคุณกาลามะชนใน http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X8581568/X8581568.htmlเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมเพียงทำหน้าที่เรียบเรียงและเพิ่มเติมบางส่วน และนำมาสื่อสารผ่านหน้าหนังสือพิมพ์อีกต่อหนึ่งเท่านั้น

กล่าวอย่างรวบรัด ทฤษฎีโลกร้อนที่สร้างขึ้นโดย IPCC (คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) และที่พวกเราเชื่อกันอยู่นั้น อธิบายว่า โลกร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วนับจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของคาร์บอนไดออกไซค์ ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่ากิจกรรมเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลของมนุษย์เป็นสาเหตุหลักของโลกร้อน

ประเด็นก็คือ หากเราเข้าใจสาเหตุของปัญหาผิดไป กล่าวคือ เชื่อตามข้อมูลที่ IPCC เสนอ และพยายามแก้ไขที่สาเหตุดังเช่นที่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บภาษีคาร์บอน คาร์บอนเครดิต การเรียกเก็บเงินค่าปรับมหาศาลจากชาวบ้านที่ตัดต้นไม้โดยอ้างเรื่องการดูดซับกาซคาร์บอน เป็นต้น ผลก็คงไม่ได้ช่วยอะไรได้มากนัก และมาตรการดังกล่าวได้กลายเป็นเครื่องมือทางการค้า และที่สำคัญคือกลายเป็นเครื่องมือที่บีบคั้นคนจนมากขึ้น

ข้อมูลโลกร้อนของ IPCC ได้รับการทักท้วงในเวทีโลกให้มีการตรวจสอบทั้งจาก NGO นักภูมิศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ มาโดยตลอด แต่ไม่เป็นผล และยิ่งเมื่อ Al Gore นำข้อมูลของ IPCC มาเสนอผ่านสารคดี “The Inconvenience Truth” กลับยิ่งตอกย้ำให้เข้าใจว่าโลกร้อนเกิดจากมนุษย์ ความตระหนกของคนทั่วโลกมีผลให้ Al Gore และ IPCC ได้รับรางวัลโนเบล ปี 2007 ไป

แต่ผมไม่แน่ใจว่าหลังจากนี้ เมื่อกรณี “climategate”  หรือ “การตุกติกข้อมูลวิจัยให้โลกร้อนเกินจริงและร้อนจากฝีมือมนุษย์นั้น” ถูกเปิดออกมา ผลจะเป็นอย่างไรต่อไป Climategate เริ่มเมื่อ 17 พ.ย. ที่ผ่านมา ศูนย์ Hadley หน่วยวิจัยสภาพภูมิอากาศโลก (Hadley – CRU) ของมหาวิทยาลัย East Anglia ซึ่งเป็นดั่งศูนย์กลางงานวิจัยเรื่องโลกร้อน ถูกมือดีเจาะข้อมูลในระบบดึงเอา e-mail และเอกสารวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศออกมาจำนวนมาก ซึ่งพบข้อความในe-mail ที่ชี้ให้เห็นว่านักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งสมคบคิดกัน (ไม่อยากใช้คำนี้เลยจริงๆ ) เพื่อทำในสิ่งที่น่าหดหู่ 3 ประการ

1) พยายามปกปิดข้อมูล  ไม่ให้ฝ่ายที่ไม่เชื่อว่าโลกร้อนเกิดจากมนุษย์ดูข้อมูลดิบและงานวิจัยต่างๆ และถึงแม้จะใช้กฎหมาย Freedom of Information ก็ไม่เป็นผล และล่าสุด หน่วยวิจัยฯ เริ่มอ้างว่าข้อมูลส่วนใหญ่ได้ถูกทำลาย หรือสูญหายไปแล้วด้วยสาเหตุต่างๆ ….เช่น กรณีที่ Tom Wigley นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศ หารือกับ Philip Jones ผู้อำนวยการ CRU ในการใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อปกปิดข้อมูลวิจัย http://www.eastangliaemails.com/emails.php?eid=485&filename=1106338806.txt

2) ตุกติกบิดผลการวิจัย เพื่อให้โลกดูร้อนขึ้นเร็วกว่าปกติ  ข้อเท็จจริงนี้ถูกพบและถูกตั้งข้อสังเกตมาก่อนแล้วหลายครั้ง แต่ฝ่ายโลกร้อนก็ยืนยันเถียงด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น กรณีที่ Philip Jones เขียนถึง Micheal Mann ผู้บริหารระดับสูงของ IPCC และเป็นเจ้าของผลงานไม้ตีฮอกกี้เจ้าปัญหา และคนอื่นๆ โดยบอกว่า เขาได้ใช้ การแก้ไข ตกแต่งข้อมูล เพื่อซ่อนอุณหภูมิที่ลดลง http://www.eastangliaemails.com/emails.php?eid=154&filename=942777075.txt

3) ปิดพื้นที่การสื่อสารของพวกที่ไม่เชื่อว่าโลกร้อนเกิดจากมนุษย์ ด้วยวิธีการต่างๆ  เช่น  กรณีที่มีความพยายามของ Mann ที่จะทำให้วารสารที่มี peer-review อย่าง climate research ตกกระป๋อง เพราะลงบทความวิจัยที่ตั้งข้อสงสัยเรื่องโลกที่ร้อนขึ้นอย่างผิดปกติของ IPCC  โดยการชักชวนให้นักวิทยาศาสตร์ไม่ส่งผลงานไปตีพิมพ์ http://www.eastangliaemails.com/emails.php?eid=295&filename=1047388489.txt

หรือกรณีที่ Mann บอกว่าเขาคิดจะคุยกับ Richard Black ซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวสิ่งแวดล้อมของ BBC เพื่อหาว่าทำไม BBC ถึงปล่อยให้มีบทความโต้เถียงเรื่องโลกร้อนออกมา..ยังมี E-mail ร้อนๆๆๆๆ อีกเป็นจำนวนมาก ที่นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำสมคบคิดกันสร้างภาพให้โลกร้อนเร็วขึ้นกว่าปกติ โปรดติดตามใน http://wattsupwiththat.com/2009/11/22/bishop-hills-compendium-of-cru-email-issues/

ถามว่าเมื่อเกิดเรื่องอื้อฉาวในแวดวงนักวิทยาศาสตร์โลกร้อนแล้วเกิดอะไรตามมาบ้าง

  • หากเรา search ข้อความ climategate ผ่าน google จะพบว่าข้อมูลนี้กำลังกระจายไปอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีมากถึง 27.4  ล้านหน้า (วันที่ 7 ธ.ค.)
  • ชาวอังกฤษได้ทยอยเข้าไปลงชื่อ http://petitions.number10.gov.uk/UEACRU/  เพื่อให้รัฐบาลทำการสอบสวนกรณีที่เกิดขึ้น และระงับการนำผลงานวิจัยของ Hadley-CRU ไปใช้ จนกว่าจะได้มีการตรวจสอบ
  • 4 ธ.ค. ประธาน IPCC  สัญญาว่าจะสอบสวนกรณีที่ Hardley – CRU กล่างอ้างว่า โลกร้อนเกิดขึ้นจากมนุษย์ ว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่
  • 5 ธ.ค. อุตุนิยมวิทยา ของอังกฤษ ประกาศตรวจสอบข้อมูลอุณหภูมิย้อนหลัง 160 ปี และจะนำข้อมูลสถานีตรวจวัดอุณหภูมิกว่าพันแห่งขึ้น website เพื่อให้สาธารณะเข้าถึงและตรวจสอบได้
  • มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียเสตรท ซึ่งมี Micheal Mann  เป็นผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ระบบโลก ประกาศที่จะตรวจสอบงานของ Mann โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับวิธีวิทยาที่ Mann ใช้
  • มหาวิทยาลัย East Anglia ตั้งคณะกรรมการอิสระ เพื่อตรวจสอบกรณีที่เกิดขึ้น ในขณะที่ Philip Jones ผู้อำนวยการ Hardley – CRU ประกาศพักงานชั่วคราวเพื่อรอผลการตรวจสอบตั้งแต่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา
  • Al Gore ยกเลิกกำหนดการที่จะไปปาฐกถาในงาน Copenhagen Climae Change ครั้งที่ 15 (COP 15) ในวันที่ 16 ธันวาคม 2552 เรียบร้อยแล้ว ว่ากันว่าที่ปรึกษาของ Gore ก็เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในกลุ่มที่ได้ชื่อว่า ตุกติกข้อมูลวิจัย เช่นกัน

 สนใจติดตามเรื่องอื้อฉาวนี้ต่อที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Climatic_Research_Unit_e-mail_hacking_incident

ในแวดวงวิชาการ การตุกติก แก้ไขข้อมูลวิจัยหรือปกปิดข้อมูลของอีกฝ่าย ด้วยวิธีการที่ไม่ชอบธรรม ถือเป็นผิดบาปมหันต์ ผิดจรรยาบรรณยิ่ง และแม้ว่าเรื่องอื้อฉาวนี้จะผ่านมา 2 สัปดาห์แล้วก็ตาม ผมก็ยังรอคอยอย่างมีความหวังว่าหน่วยงานและนักวิทยาศาสตร์ในบ้านเราจะออกมาให้ความเห็นต่อกรณีนี้บ้าง….

 
1 ความเห็น

Posted by บน ธันวาคม 6, 2009 นิ้ว บทความ

 

ป้ายกำกับ: , , ,