RSS

โรงเตี๊ยม คนขี้ขลาดและความทรงจำเล็กๆ

.ผมเกิดในเมืองเล็กๆทางใต้  เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยเนินสูงๆต่ำๆ ภาษาบ้านผมรียกว่า”ควน”  ศาลากลางของเมืองตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของควนตามคตินิยม มีวัดอยู่บนควนเรียก”วัดควนวิเศษ” ผมจำได้เวลาปั่นจักรยานต้องยืนปั่นออกแรงฮึดตอนขึ้นควน พอลงจากควนท้องน้อยก็เสียววูบทุกที   มีถนนไม่กี่สายในเมืองวนเดี๋ยวเดียวก็ทั่ว  เป็นเมืองที่มีหอนาฬิกาสูงเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งเมื่อผมโตขึ้นมันก็ดูเล็กไปหน่อย มีรถไฟวิ่งจากกรุงเทพฯมาสุดปลายทางที่นี่พร้อมข่าวสารหนังสือพิมพ์จากเมืองหลวง ที่นี่เป็นเมืองเล็กที่ผู้คนแทบจะรู้จักกันหมด โดยเฉพาะย่านตลาดสดเทศบาลซึ่งเป็นตลาดใหญ่สุดของที่นี่

โรงเตี๊ยมเก่าๆหลังหนึ่งตั้งอยู่ท้ายตลาด เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้สองชั้น   ด้านล่างเป็นร้านกาแฟและร้านอาหารที่มีคนขายหลายเจ้า บ้างขายข้าวหมูแดง บ้างขายข้าวแกง ขายก๋วยเตี๋ยว มีเก้าอี้ไม้เชคโกและโต๊ะหินอ่อนขาไม้กลึงไว้คอยต้อนรับลูกค้า ด้านบนเป็นห้องพักซ่อมซ่อไม่น่าจะเกินสิบห้อง เถ้าแก่ของร้านนั่งเก็บเงินและเป็นพนักงานต้อนรับของโรงแรมไปในตัว บนเคาน์เตอร์ตัวเขื่องยังวางขวดเหล้าประเภทเซี่ยงชุน เสือ๑๑ตัวไว้บริการขี้เหล้าขาประจำ ผมมีชีวิตที่ผูกพันวนเวียนอยู่ที่โรงเตี๊ยมแห่งนี้ทุกวัน เพราะพ่อผมขายข้าวหมูแดงอยูที่นี่

อ่านต่อ.(ขนาด file 242 KB) ..โรงเตี๊ยม…    

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน เมษายน 13, 2013 นิ้ว บทความ

 

ป้ายกำกับ:

รายงานล่าสุด อุณหภูมิโลก น่าจะร้อนน้อยกว่าที่ IPCC คาดการณ์ไว้

เผยแพร่ลงใน The Economist 30 มีนาคม 2013

แม้ว่าปริมาณ CO2 จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าก่อนยุคอุตสาหกรรม อุณหภูมิโลกน่าจะขึ้นไปที่ 2 องศาเซลเซียส น้อยกว่าที่ IPCC คาดการณ์ไว้ที่ 4 องศา

test  (ขนาดบทความ 2.14 MB)

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน เมษายน 7, 2013 นิ้ว Uncategorized

 

จำนำข้าวกับการมุมมองประชากรเชิงมหภาค

บทความนี้จะอธิบายและชี้ให้เห็น สถานการณ์โดยรวมของชาวนาไทยและข้อวิพากษ์ของนักวิชาการต่อโครงการ
รับจำนำข้าวของรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเป็นนโยบายมหภาคที่รัฐใช้เพื่อเข้าแทรกแซงตลาดข้าวไทย โดยหวังจะ
ช่วยยกระดับคุณภาพประชากรของชาวนาไทย และจะได้ใช้ มุมมองการพัฒนาประชากรที่ประกอบด้วยมุมมมองในเชิงมห
ภาคและจุลภาค ชี้ให้เห็นถึงประเด็นสำคัญที่จำเป็นต่อการเพิ่มความเท่าเทียมกันของโอกาสให้ชาวนาได้ มีพื้นที่การแข่งขัน การเข้าถึง การพัฒนาตัวเอง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการเลื่อนสถานะทางสังคมของชาวนาไทย

อ่านต่อ file ขนาด 420 KB จำนำข้าว_ความยากจน

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กุมภาพันธ์ 16, 2013 นิ้ว บทความ

 

ป้ายกำกับ: ,

มหาวิทยาลัยนอกระบบ : มายาคติ หรือของจริง

ข้อเขียนการคัดค้านนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบของ อ.ใจ อึ้งภากรณ์ และ อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เผยแพร่อยู่ใน website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนตั้งแต่ปี 2549 แม้ว่าจะเป็นบทความที่ผ่านมาแล้วครึ่งทศวรรษ แต่บทความขนาดสั้นของอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน ก็ยังถูกนำมาใช้อ้างอิงบนหน้า Facebook “ม.นอกระบบ ม.เกษตร” และ “แนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้าน ม.นอกระบบ”  พร้อมกับการเคลื่อนไหวตั้งแต่ต้นปี 2555 ทั้งจาก นักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึง บุคลากรของมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็น อาจารย์ หมอ พยาบาล ใน ห้วงยามที่มหาวิทยาลัยหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมถึง มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา เป็นต้น กำลังเริ่มขยับเพื่อพามหาวิทยาลัยออกนอกระบบ (ราชการ)

อ่านต่อ file ขนาด 420 KB ข้อสังเกตต่อบทความ มหาวิทยาลัยนอกระบบ

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กุมภาพันธ์ 16, 2013 นิ้ว บทความ

 

ป้ายกำกับ: , , ,

การเปลี่ยนแปลงทางประชากร ความไม่เป็นธรรม และนโยบายหลักประกันสุขภาพ

บทความนี้ผู้เขียนมีความเห็นและเชื่อว่า ในอนาคตอันใกล้ นโยบายหลักประกันสุขภาพที่ใช้ อยู่ในทศวรรษที่ผ่านมา (พ.ศ.
2545 – 2555) ซึ่งสามารถขจัดความไม่เป็ นธรรมด้ านสุขภาพและความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้นั้น กำลังจะต้องเผชิญกับประเด็นความไม่เป็ นธรรมด้านสุขภาพแบบใหม่ที่กำลังก่อตัวขึ้นท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรและแรงงานข้ ามชาติ และนั่นย่อมจะทำให้เราต้องเปลี่ยนวิธีคิดต่อการมองความเป็นธรรมทางสุขภาพและสังคมที่แตกต่างไปจากเดิม เพราะความคิดแบบเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุขอาจใช้ไม่ได้ต่อไป กับความไม่เป็นธรรมนี้

อ่านต่อ file ขนาด 1.6 MB ความท้าทาย…นโยบายหลักประกันสุขภาพ

 

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กุมภาพันธ์ 16, 2013 นิ้ว บทความ

 

ป้ายกำกับ: ,

ปฏิสัมพันธ์ของโลกที่เสี่ยงภัยกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากร

ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นปัจเจกบุคคล หรือ องค์กร ไม่ว่าจะเป็นคนธรรมดาสามัญ หรือผู้ ที่ต้องตัดสินใจทางนโยบาย ต่างต้องพบกับปัญหาความยุ่งยากซับซ้อนและความเร็วของการเปลี่ยนแปลงในโลกที่เชื่อมโยงสัมพันธ์ ถึงกันหมด อาทิ เช่น การ
เลือกบริโภคอาหารไม่ว่าจะเป็ นเนื้อวัว หรือเนื้อไก่ แม้ แต่ภาชนะบรรจุอาหารที่เป็น พลาสติก หรือโฟม ก็กลัวทั้งการติดโรค
(โรควัวบ้า / ไข้หวัดนก) และเสี่ยงต่อการทำลายสภาพแวดล้อม หรือทำให้ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เป็นต้น

ในยุคสมัยที่วิถีชีวิตของมนุษย์ ล้วนได้ รับอิทธิพลจากพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านภูมิรัฐศาสตร์ ด้านสังคม และด้านเทคโนโลยี  สัญญาณได้ ชี้ชัดว่ากำลังมีการเปลี่ยนแปลงดุลยภาพครั้ง
ใหญ่ของเศรษฐกิจโลกในสังคมของประชากรโลกที่มีสูงขึ้นเป็น 7,000 ล้านคน พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
pic

 

 

 

 

 

 

อ่านต่อ ขนาด file 1.5MB โลกที่เสี่ยงภัย

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กุมภาพันธ์ 16, 2013 นิ้ว บทความ

 

ป้ายกำกับ: , ,

How Much Is Enough? เท่าไรจึงจะพอ (ตอนจบ)

บทสุดท้ายของหนังสือเรื่อง How Much Is Enough? เป็นการเสนอแนะแนวนโยบายสำหรับแก้ปัญหาอันสืบเนื่องมาจากระบบทุนนิยม

กระตุ้น ให้เกิดการบริโภคเพิ่มขึ้นแบบไม่หยุดยั้งโดยอ้างความเจริญบังหน้า ก่อนเล่าต่อไป ขอเรียนว่า ผู้เขียนเป็นนักเศรษฐศาสตร์และนักปรัชญาที่หลอมรวมขึ้นมาจากแนวคิดกระแสหลัก ของสังคมตะวันตก คนหนึ่งเป็นผู้เขียนชีวประวัติของจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ซึ่งวงการเศรษฐศาสตร์ตะวันตกนับเป็นยอดนักคิดของระบบเศรษฐกิจกระแสหลักแห่ง คริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา การที่ผู้เขียนทั้งสองมองว่าเศรษฐกิจระบบทุนนิยมมีปัญหาสาหัสพร้อมๆ กับการถดถอยทางศีลธรรมจรรยาของสังคมตะวันตกมิได้เกิดบนฐานของการต่อต้านระบบ นั้นเช่นผู้นิยมระบบคอมมิวนิสต์ หรือผู้ไม่ศรัทธาในศาสนาคริสต์ หากเกิดบนฐานของการเป็นผู้อยู่ในระบบมานาน ฉะนั้น การอ่านเหตุการณ์ของเขาจึงมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น

สิ่งที่น่าสังเกตเป็นพิเศษในบทนี้คือ ผู้เขียนไม่แสดงความเชื่อมั่นแบบเต็มร้อยว่าข้อเสนอของเขาจะแก้ปัญหาได้ ต่างกับบทที่ผ่านมาๆ ซึ่งเขาเสนอเนื้อหาด้วยความเชื่อมั่นสูงมาก นอกจากนั้น เขายังกล่าวว่าข้อเสนอของเขาเป็นเพียงการชี้แนะขั้นต้นเท่านั้น ความไม่เชื่อมั่นของผู้เขียนอาจมองได้ว่า ปัญหานั้นหนักหนาสาหัสยิ่งจนเขาอ่านว่าไม่สามารถแก้ได้ นั่นอาจหมายความว่าสังคมโลกจะต้องล่มสลายด้วยการกระทำของธรรมชาติเสียก่อน แล้วจึงกลับมาเริ่มต้นกันใหม่

เนื่องจากผู้เขียนมองว่า ความถดถอยทางศีลธรรมจรรยาเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหา เขาเสนอว่าฝ่ายศาสนาจะต้องมีบทบาทในการแก้ไขด้วย อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้เสนอรายละเอียดมากนักนอกจากพูดถึงหลักของศาสนาคริสต์นิกายโรมัน คาทอลิกเป็นส่วนใหญ่ การที่เขาไม่แสดงความเชื่อมั่นในด้านนี้อาจตีความหมายได้ว่าผู้เขียนมองวง การศาสนาว่าตกอยู่ใต้อำนาจของระบบทุนนิยมไม่ต่างกับวงการอื่น ประเด็นนี้คงเป็นที่เข้าใจของคนไทยส่วนใหญ่เป็นอย่างดีเนื่องจากมีตัวอย่าง ให้ดูอยู่เป็นประจำ เมื่อฝ่ายศาสนาไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก การแก้ปัญหาจะต้องมาจากนโยบายของฝ่ายรัฐซึ่งผู้เขียนสรุปว่าต้องมีเป้าหมาย หลัก 2 ด้านด้วยกันคือ การแบ่งสันปันส่วนผลผลิตในเศรษฐกิจจะต้องเท่าเทียมกันมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน และความกดดันให้เกิดการบริโภคแบบไร้ความจำเป็นจะต้องลดลง

ในด้านการแบ่งสันปันส่วนให้เกิดความเท่าเทียมกันมากขึ้น ผู้เขียนเสนอมาตรการสามด้านให้พิจารณาคือ เพิ่มค่าตอบแทนให้แก่อาชีพต่างๆ รวมทั้งครู หมอ พยาบาลและข้าราชการ หรือพนักงานของรัฐ ออกกฎหมายให้เกิดการลดชั่วโมงทำงานของลูกจ้างลงเรื่อยๆ และให้รัฐประกันรายได้เบื้องต้นแก่ทุกคนในสังคมตามความเหมาะสมของสภาพ เศรษฐกิจซึ่งอาจหมายถึงระบบภาษีจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ผู้ที่มีรายได้สูง จ่ายภาษีมากขึ้นกว่าในระดับที่เป็นอยู่

ในด้านการลดความกดดันให้เกิดการบริโภค สิ่งแรกที่ผู้เขียนเสนอให้พิจารณาได้แก่การห้ามบริโภคสินค้าจำพวกหรูหรา เพื่อโอ้อวดสถานะบางชนิดคล้ายกับการห้ามบริโภคยาเสพติดร้ายแรง เนื่องจากการห้ามเป็นมาตรการรุนแรงมากจากมุมมองของเสรีภาพในการดำเนินชีวิต ของบุคคล รัฐอาจใช้มาตรการภาษีในแนวที่ใช้กับสินค้าบางชนิดอยู่แล้วรวมทั้งผลิตภัณฑ์ ยาสูบและแอลกอฮอล์ นอกจากนั้น ยังอาจใช้มาตรการเก็บภาษีก้าวหน้าจากการบริโภคโดยทั่วไปโดยยกเว้นสิ่งจำเป็น เบื้องต้นสำหรับการดำเนินชีวิต เนื่องจากในยุคนี้ ภาคการเงินมีอิทธิพลสูงมากจากการเล่นแร่แปรธาตุทางการเงินซึ่งไม่นำไปสู่การ ผลิตสิ่งที่จำเป็น ฉะนั้น เขาจึงเสนอให้เก็บภาษีธุรกรรมทางการเงินที่รู้กันในนามของ “ภาษีโทบิน” ตามชื่อของนักเศรษฐศาสตร์เจมส์ โทบิน ผู้เสนอภาษีแนวนี้เมื่อปี 2515

อนึ่ง คงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า การโฆษณามีอิทธิพลต่อการบริโภคสูงมาก ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงเสนอให้ควบคุมการโฆษณาอย่างเข้มงวดกว่าที่สังคมต่างๆ ทำกันอยู่ในปัจจุบัน เขายกตัวอย่างในบางประเทศมาเสนอว่าการควบคุมการโฆษณาแบบเข้มงวดนั้นทำได้รวม ทั้งในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยสูงด้วย ยิ่งกว่านั้น เขาเสนอให้ห้ามนำงบประมาณการโฆษณามารวมเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการอันเป็นการ บังคับให้บริษัทห้างร้านต้องพิจารณาความคุ้มค่าของการโฆษณาอย่างเข้มข้นขึ้น อีกระดับหนึ่ง

ดังที่อ้างถึงในตอนต้น เนื้อหาของหนังสือเป็นเรื่องของสังคมตะวันตก ในตอนสุดท้ายของบท ผู้เขียนพูดถึงประเทศยากจนสั้นๆ โดยมองว่าจะทำอย่างไรประเทศเหล่านั้นจึงจะสามารถยกระดับการพัฒนาขึ้นมาให้ ประชาชนของตนสามารถมี “ชีวิตที่ดี” ได้ เขามองว่า ประเทศกำลังพัฒนาจะต้องลดการมุ่งเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการส่งออกและ การกระตุ้นการบริโภคเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในประเทศก้าวหน้ามาแล้ว ส่วนทางด้านประเทศก้าวหน้า เขาเสนอว่าต้องลดการใช้ประเทศกำลังพัฒนาเป็นปัจจัยในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งคงหมายถึงลดการเอาเปรียบลงด้วย นอกจากนั้น เขาเสนอให้ช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาโดยการให้ทุน ในบริบทนี้เขาใช้คำว่า “เพียงพอ” (sufficiency) โดยเสนอว่าประเทศก้าวหน้าควรช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาไปจนกว่าประเทศกำลัง พัฒนาจะมีเศรษฐกิจในระดับที่ประชาชนโดยทั่วไปเข้าถึงปัจจัยเบื้องต้นตามความ จำเป็นของการดำเนินชีวิตอย่างเพียงพอ ความเพียงพอในที่นี้ชี้ชัดว่าเป็นความเพียงพอทางร่างกายซึ่งเป็นส่วนประกอบ สำคัญของการนำไปสู่ความพอใจในชีวิต แน่ละ เมื่อใดความเพียงพอทางร่างกายและความรู้สึกพอใจในชีวิตเกิดขึ้นพร้อมกัน เมื่อนั้นความ “พอเพียง” ที่แท้จริงย่อมเกิดขึ้น

http://bit.ly/V1CTRb

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน ธันวาคม 31, 2012 นิ้ว บทความ, หนังสือ

 

ป้ายกำกับ: ,

2012 in review

The WordPress.com stats helper monkeys prepared a 2012 annual report for this blog.

Here’s an excerpt:

4,329 films were submitted to the 2012 Cannes Film Festival. This blog had 25,000 views in 2012. If each view were a film, this blog would power 6 Film Festivals

Click here to see the complete report.

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน ธันวาคม 31, 2012 นิ้ว Uncategorized

 

How Much Is Enough? Money and the Good Life (3) โดย ไสว บุญมา

ดังที่เล่าไว้ในตอนแรก ผู้เขียนหนังสือเรื่อง How Much Is Enough? เสนอว่า “ชีวิตที่ดี” เป็นสิ่งที่ทุกคนมีได้และควรแสวงหา

ส่วน เงินหรือรายได้ที่จะนำมาซึ่งชีวิตที่ดีนั้นคือจำนวนที่ควร “พอ” แต่เขามิได้ให้นิยามของคำว่า “ชีวิตที่ดี” จนกระทั่งบทที่ 6 ซึ่งเป็นบทรองสุดท้ายของหนังสือ ก่อนนั้นเขาพูดถึงปรัชญาและที่มาของระบบทุนนิยม สิ่งที่ทำให้ระบบนั้นเลวร้าย เรื่องการใช้ทรัพย์สิน เรื่องมายาภาพของความสุข และเรื่องข้อจำกัดของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ วันนี้จะไม่พูดถึงเรื่องเหล่านั้น แต่จะข้ามไปพูดถึงชีวิตที่ดีในบทที่ 6 ซึ่งผู้เขียนเสนอว่ามีส่วนประกอบเบื้องต้น 7 อย่างด้วยกันคือ

หนึ่ง สุขภาพดีซึ่งหมายถึงร่างกายที่ทำงานได้ตามปกติในช่วงที่มีชีวิตอยู่ตาม อายุขัย การจะมีร่างกายที่ดีได้ย่อมหมายถึงมีสิ่งจำเป็นต่างๆ ในปริมาณที่เพียงพอแต่ไม่ฟุ่มเฟือยรวมทั้งอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัยและการรักษาพยาบาลเมื่อเกิดการเจ็บป่วย แต่ไม่รวมถึงความพยายามที่จะมีชีวิตแบบผิดไปมากจากกฎของธรรมชาติซึ่งจะนำไป สู่การใช้จ่ายแบบไม่มีทางเพียงพอ อาทิเช่น ความพยายามที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปโดยใช้เครื่องช่วยชีวิตต่างๆ อย่างต่อเนื่องรวมทั้งเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ที่ตกอยู่ในภาวะนิทราอย่าง ถาวร และความพยายามทำศัลยกรรมตกแต่งที่ไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของการทำ งานตามปกติของร่างกายแต่อย่างใด

สอง ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตโดยปราศจากการรบกวนของอาชญากรรม สงคราม หรือการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่แบบเฉียบพลันทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม

สาม การได้รับความเคารพ หรือการมีศักดิ์ศรี การเป็นทาสอาจเป็นการสูญเสียศักดิ์ศรีที่ร้ายแรงที่สุดของมนุษย์เรา แต่เนื่องจากในสมัยนี้ สังคมต่างๆ ไม่มีระบบทาสเหลืออยู่ เรื่องนี้จึงมุ่งไปที่ความเหลื่อมล้ำซึ่งจะต้องไม่มีมากจนทำให้กลุ่มชนแบ่ง แยกแบบเชื่อมกันไม่ติดโดยผู้ที่มีเงินมากสามารถละเมิดกฎหมายได้ตามใจชอบ ในขณะที่คนจนรู้สึกคับแค้นใจอยู่ไม่ขาด และนักการเมืองเป็นทาสของเงิน

สี่ ความมีอิสระที่จะแสดงความเป็นตัวของตัวเองบนฐานของการมีศีลธรรมจรรยา การมีหลักประกันในทรัพย์สินเป็นส่วนประกอบหลักของความมีอิสระ เพื่อให้เกิดความมีอิสระอย่างทั่วถึง ทรัพย์สินจะต้องกระจายออกไปอย่างกว้างขวาง แทนที่จะตกอยู่ในมือของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ

ห้า การอยู่กับธรรมชาติอย่างกลมกลืน เรื่องนี้มักก่อให้เกิดการถกเถียงกันในระหว่างฝ่ายที่มองว่าการอยู่ใกล้ ธรรมชาติเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดชีวิตที่ดีและฝ่ายที่ไม่เชื่อเช่นนั้น ผู้เขียนอ้างถึงข้อมูลต่างๆ แล้วสรุปว่าฝ่ายแรกมีน้ำหนักมากกว่า

หก การมีเพื่อนที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เพื่อนในที่นี้อาจเป็นสมาชิกในครอบครัว หรือคนนอกครอบครัวก็ได้ซึ่งคบค้ากันด้วยความจริงใจ มิใช่เพื่อผลประโยชน์

เจ็ด การพักผ่อนหย่อนใจซึ่งไม่เฉพาะการผ่อนคลายอย่างสบายๆ เนื่องจากได้พักจากงานหรือความกดดันต่างๆ เท่านั้น หากยังรวมถึงการได้ทำสิ่งที่มีใจรักอีกด้วย ในบางกรณี การทำงานอาจเป็นการได้ทำสิ่งที่มีใจรักพร้อมๆ กันไปด้วย อาทิเช่น เมื่อนักเขียนแต่งหนังสือ แม้จะไม่มีใครจ่ายเงินให้ เขาก็ยังทำต่อไปเนื่องจากมีใจรัก

สำหรับบุคคล การจะมีชีวิตที่ดีได้ส่วนหนึ่งมาจากโชคของการเกิดมาในสิ่งแวดล้อมที่อำนวย และมีร่างกายที่มีส่วนประกอบดี และการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็มีหน้าที่ที่จะต้องก่อให้เกิดภาวะเอื้ออำนวยซึ่งส่วน ใหญ่มิใช่ภาวะทางด้านเศรษฐกิจ ส่วนประกอบสำคัญทางด้านเศรษฐกิจได้แก่การขยายตัวของผลิตภัณฑ์ซึ่งอาจมีความ สำคัญใน 3 ด้านด้วยกันคือ

ด้านแรก การขยายตัวทางเศรษฐกิจอาจมีความจำเป็นในการผลิตปัจจัยเบื้องต้นสำหรับการมี ชีวิตที่ดี อาทิเช่น ทำให้มีอาหารและปัจจัยในการรักษาพยาบาลอย่างเพียงพอ ในประเทศที่ก้าวหน้ามากๆ ปัจจัยเบื้องต้นเหล่านี้มักมีอย่างเพียงพอแล้วจึงไม่จำเป็นที่จะต้องทำให้ มันขยายตัวต่อแบบไม่มีที่สิ้นสุด

ด้านที่สอง การขยายตัวต่อไปอาจทำให้บุคคลมีอิสระที่จะเลือกสิ่งต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นและสนับสนุนให้เกิดการค้นคว้าหาความรู้และสร้างความเปลี่ยนแปลง ต่างๆ ซึ่งอาจจำเป็นต้องมีอย่างต่อเนื่อง

ด้านที่สาม การขยายตัวอาจมีความจำเป็นในระยะสั้นเมื่อสังคมมีอัตราการว่างงานและภาระหนี้สินสูง

เมื่อเศรษฐกิจสามารถผลิตทุกอย่างที่เอื้อให้สมาชิกในสังคมมีชีวิตที่ดี ได้แล้ว การขยายตัวต่อไปมีโอกาสทำให้ชีวิตที่ดีลดลง ไม่ว่าจะเป็นจากการทำลายสิ่งแวดล้อม การจำกัดโอกาสสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ หรือการชักจูงให้เกิดการบริโภคที่ไม่จำเป็นมากขึ้นจนมีผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจที่สามารถผลิต หรือค้าเพื่อแสวงหาทุกอย่างมาได้อย่างเพียงพอสำหรับชีวิตที่ดีของสมาชิกใน สังคมแล้วเป็นเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะ “นิ่ง” หรือ “พอ” ซึ่งปราชญ์ทางด้านเศรษฐศาสตร์จากอดัม สมิธ ถึงจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ มองว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมและควรเป็นเป้าหมายของสังคมโดยทั่วไป แต่สังคมทุนนิยมได้มองข้ามเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะนิ่งเพราะความโลภเข้าครอบงำ ซึ่งนำไปสู่การผลักดันให้เกิดการขยายตัวของการผลิตและการบริโภคแบบไม่มีที่ สิ้นสุด

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน ธันวาคม 21, 2012 นิ้ว บทความ, หนังสือ

 

ป้ายกำกับ: ,

How Much Is Enough? Money and the Good Life (2) โดย ไสว บุญมา

ผู้เขียนเข้าสู่ เนื้อหาหลักของหนังสือในบทที่ 1 ด้วยการพูดถึงความผิดพลาดของจอห์น เมนาร์ด เคนส์ ซึ่งทำนายว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวต่อเนื่องต่อไป

ส่ง ผลให้เราใช้เวลาทำงานเพียงเล็กน้อยก็สามารถที่จะมีชีวิตที่ดีได้ การทำนายนั้นถูกเพียงในส่วนของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่ผิดในส่วนของเวลาทำงานซึ่งยังแทบไม่ต่างกันกับในสมัยที่เขาเขียนคำทำนาย นั้นทั้งที่เวลาได้ผ่านไปกว่า 80 ปีแล้ว

ก่อนจะเสนอผลของการวิเคราะห์ ผู้เขียนพูดถึงความเชื่อของเคนส์อันเป็นสมมติฐานเบื้องต้นของการทำนาย ในเบื้องแรก เคนส์เชื่อว่าคนเรามีเพดานของความต้องการทางด้านวัตถุซึ่งเมื่อมีถึงจุดนั้น แล้วจะพอใจและไม่ดิ้นรนที่จะหามาเพิ่ม ผู้เขียนมองว่าความเชื่อนี้มีปัญหาเพราะเคนส์ไม่แยกความจำเป็นออกจากความ ต้องการ ความจำเป็นมีเพดาน แต่ความต้องการไม่มี ฉะนั้น เศรษฐกิจจึงขาดกลไกที่จะยับยั้งมิให้มันขยายตัวต่อไปยกเว้นในกรณีที่คนเรา ไม่ต้องการอะไรนอกเหนือไปจากความจำเป็นสำหรับดำเนินชีวิต

เคนส์เชื่อว่ารายได้ในระดับ 4-8 เท่าของรายได้เฉลี่ยในช่วงที่เขาทำนายจะทำให้คนรู้สึกว่า “พอ” สาเหตุที่เขาเชื่อเช่นนั้นเพราะเขามองว่าผู้ที่มีรายได้ในระดับของชนชั้น กลางในสมัยนั้นสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เป็นอย่างดี เขามองด้วยว่าเมื่อมีรายได้ถึงในระดับนั้น ผู้คนจะทำงานน้อยลงและปล่อยให้ผู้มีรายได้น้อยกว่าทำงานต่อไปจนมีรายได้ถึง ในระดับชนชั้นกลางเช่นกัน เคนส์คิดไม่ถึงว่าผู้ที่มีรายได้ถึงในระดับชั้นกลางแล้วจะตรากตรำทำงานต่อไป เพื่อหารายได้เพิ่มขึ้นจนร่ำรวยมากและแตกต่างจากผู้มีรายได้น้อยกว่าแบบฟ้า กับดิน นอกจากนั้น ความพอจากมุมมองของเคนส์ไม่จำเป็นจะต้องเท่ากันระหว่างคนต่างอาชีพ ก่อนที่จะรู้สึกพอใจศิลปินจึงอาจต้องมีรายได้ในระดับต่างกับนักวิชาการ หมอและทนายความ

สำหรับเรื่องที่เคนส์มองว่าคนเราจะใช้เวลาที่ได้จากการทำงานน้อยลงหมดไป กับการพักผ่อนหย่อนใจเพื่อหาความสุขอย่างชาญฉลาดนั้น ผู้เขียนมองว่าไม่สามารถประเมินได้ทันทีเนื่องจากในสมัยนี้ การพักผ่อนหย่อนใจมิใช่เข้ามาแทนที่การทำงาน หากเป็นการต่อยอดการทำงานเสียมากกว่า การวิเคราะห์ต่อไปในบทที่ 1 เป็นการค้นหาคำตอบว่าเพราะอะไรคนเราจึงไม่ลดเวลาทำงานลงและเพิ่มเวลาพักผ่อน หย่อนใจให้มากขึ้น ผู้เขียนสรุปว่า คำอธิบายมาจาก 3 ปัจจัยด้วยกัน

ปัจจัยแรกได้แก่ความพึงพอใจในการทำงาน เรื่องนี้มีปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญอยู่ที่ลักษณะของงานได้เปลี่ยนไปอย่างมี นัยสำคัญ นั่นคือ ในสมัยก่อนงานส่วนใหญ่เป็นงานกรรมกรที่ต้องใช้แรงงานแบกหาม ขาดความท้าทายทางสมอง หรือต้องตรากตรำท่ามกลางแดดฝนและภาวะที่ไม่มีความน่าสนใจและความน่าอภิรมย์ ผสมอยู่มากนัก ต่างกับในสมัยนี้ซึ่งงานจำนวนมากไม่มีความตรากตรำ หากเป็นงานนวัตกรรมที่มีความท้าทายและความน่าสนใจอยู่ในตัวของมัน นอกจากนั้น ภาวะรอบด้านของการทำงานก็มีความสะดวกสบายและความน่าอภิรมย์ผสมอยู่ ระบบอินเทอร์เน็ตทำให้การทำงานมีลักษณะเสมือนการเล่น คนจำนวนมากอาจทำงานเพราะต้องการมีเพื่อน หรือเพื่อหนีปัญหาในครอบครัวและความเหงา อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในประเทศก้าวหน้าบ่งว่าคนงานจำนวนมากต้องการทำงานน้อยลง ฉะนั้น ความพึงพอใจในการทำงานจึงไม่น่าจะใช่ปัจจัยใหญ่ที่อธิบายความไม่ลดลงของ ชั่วโมงทำงานตามที่เคนส์คาด

ปัจจัยที่สองได้แก่ความกดดันซึ่งมาจากหลายด้านด้วยกัน อาทิเช่น ผลของการขยายตัวทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ไปตกอยู่ในมือของคนรวยเพิ่มขึ้นส่งผลให้ คนงานในสัดส่วนที่มากขึ้นต้องตรากตรำทำงานต่อไป มิฉะนั้นจะไม่มีรายได้เพียงพอสำหรับดำเนินชีวิต พนักงานบริการตามร้านอาหารจานด่วนและร้านสะดวกซื้อมักตกอยู่ในกลุ่มนี้ โดยทั่วไปนายจ้างเลือกที่จะจ้างคนงานในจำนวนจำกัดโดยให้แต่ละคนเพิ่มชั่วโมง ทำงานทั้งนี้เพราะการจ้างคนงานเพิ่มจะทำให้นายจ้างต้องจ่ายค่าสวัสดิการ เพิ่มขึ้นและต้องบริหารจัดการคนงานจำนวนมากซึ่งทำให้ยากลำบากขึ้น การโฆษณาสินค้าสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคมองว่าสินค้ามีความจำเป็นทั้งที่ มันไม่มีความจำเป็น หรือ คนจำนวนมากใช้การเดินชมสินค้าเป็นทางออกของความเหงาและความไม่สบายใจในชีวิต ประจำวัน การเดินชมเช่นนั้นมักจบลงด้วยการซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็น การซื้อสินค้าเหล่านั้นสร้างความกดดันให้ต้องทำงานหารายได้เพิ่ม

ปัจจัยที่สามได้แก่ความไม่รู้จักพออันเป็นธรรมชาติธาตุแท้ของมนุษย์ เรื่องนี้มองได้จากหลายทาง อาทิเช่น คนเรามักเบื่อหน่ายกับของที่ใช้แล้วใช้อีก หรือความจำเจ ส่งผลให้ต้องหาซื้อของใหม่ หรือทำอะไรใหม่ๆ ทั้งที่มันไม่จำเป็น โดยทั่วไปคนเรามักมองว่าต้องแข่งขันและเปรียบเทียบการมีสถานะกับผู้อื่นเสมอ การมองเช่นนั้นนำไปสู่การต้องซื้อหรือหารายได้มาเพิ่มซึ่งส่วนใหญ่ได้จากการ ทำงาน จะเห็นว่าแม้แต่การทำบุญทำทานก็มีการแข่งขันและโอ้อวดกันว่าใครทำมากกว่า ธรรมชาติธาตุแท้ของมนุษย์เราถูกขับเคลื่อนให้เข้มข้นขึ้นด้วยระบบทุนนิยม ซึ่งสร้างความต้องการสิ่งที่ไม่จำเป็นเพิ่มขึ้น ขยายวงของสถานะทางสังคมให้กว้างขึ้น เปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นเงินมากขึ้น และเป่าหูเราอยู่ตลอดเวลาว่าอย่าหยุดแสวงหารายได้ และการแสวงหารายได้แบบไม่รู้จักพอนั้นผลักดันให้ระบบทุนนิยมตัดขาดจากฐานทาง ศีลธรรมจรรยาจนยากที่จะนำกลับมาให้อยู่ในความควบคุมของเราแล้ว

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน ธันวาคม 21, 2012 นิ้ว บทความ

 

ป้ายกำกับ: ,